วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เกณฑ์การตัดสินกีฬายิมนาสติกลีลา

สำหรับวันนี้ Valeri Gym Club ยินดีนำเสนอ..เกณฑ์การให้คะแนนกีฬายิมนาสติกลีลา ติดตาม..อ่านกันได้เลยค่ะ


การให้คะแนนในการแข่งขัน   
คณะกรรมการผู้ตัดสิน ประกอบด้วย
คณะลูกขุน  (ประเภทบุคคลและกลุ่ม แบ่งผู้ตัดสินออกเป็น 2 ฝ่าย)
  • กลุ่ม A คณะลูกขุนการประกอบท่าชุด (Composition) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่ม A1  ผู้ตัดสินฝ่ายเทคนิค (technical Value)  ทำหน้าที่ในการ ประเมินค่าทางเทคนิคที่เกี่ยวกับการประกอบท่าชุด (จำนวนและระดับของท่าความยาก) มีคะแนนสูงสุด 10 คะแนน
กลุ่ม A2  ผู้ตัดสินฝ่ายศิลปะ (Artistic Value)  ทำหน้าที่ในการ  ประเมินองค์ประกอบทางศิลปะ องค์ประกอบทางเสียงดนตรี และการออกแบบท่าชุด (เลือกท่าสำหรับอุปกรณ์ เลือกท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้อุปกรณ์ การใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย ความชำนาญและความเป็นต้นแบบ) มีคะแนนสูงสุด 10 คะแนน (ดนตรี = 2.0 คะแนน, การออกแบบท่าชุด = 8.0 คะแนน)

  •  กลุ่ม B คณะลูกขุนความสมบูรณ์ของท่า (Execution)  ทำหน้าที่ในการ ประเมินความสมบูรณ์ (ความผิดพลาดทางเทคนิค) มีคะแนนสูงสุด 10 คะแนน

แนวทางในการตัดสิน
1. ระดับของความผิดพลาด
     1.1 ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจะถูกตัดคะแนนตามระดับ ดังต่อไปนี้..
  • 0.05 หรือ 0.10 คะแนน สำหรับความผิดเล็กน้อย 
  • 0.20 คะแนน สำหรับความผิดปานกลาง 
  • 0.30 คะแนน สำหรับความผิดพลาดที่มาก 
2.  การให้คะแนนและการคำนวณคะแนน
     2.1 ผู้ตัดสินแต่ละคนจะให้คะแนนดังต่อไปนี้ 

การแข่งขันประเภทบุคคลและกลุ่ม
ผู้ตัดสินฝ่าย Composition, Score A1:
  • Technical Value (T.V.) o: ถึงสูงสุด 10 คะแนน (โดยรวมทั้งหมด) 
ผู้ตัดสินฝ่าย Composition, Score A2:
  • Artistic Value (A.V.) :0 ถึงสูงสุด 10 คะแนน (ในแต่ละส่วนแล้วนำมารวมกัน)
ผู้ตัดสินฝ่าย Execution, Score B
  • 0 ถึงสูงสุด 10 คะแนน (ผู้ตัดสินจะให้เฉพาะคะแนนที่ถูกตัดออก) 
การคำนวณคะแนน>>คะแนนสุดท้ายจะประกอบด้วยคะแนน 3 ส่วน T.V + A.V. + Execution

การคิดคะแนนฝ่ายเทคนิค (Technical Value) ผู้ตัดสินฝ่าย Technical Value
ผู้ตัดสินฝ่าย Technical Value จะให้คะแนนดังนี้
  • ตรวจสอบความถูกต้องของการทำท่าความยาก ขีดฆ่าสำหรับความยากที่ไม่ให้ค่าเท่าและเพิ่มความยากที่นักกีฬาอาจแสดงได้ 
  • เลือกท่าความยากที่มีคะแนนสูงที่สุด 10 เท่า 
  • ปรับคะแนนให้ตรงกัน
  • ตัดคะแนนสำหรับท่าความยากที่ขาดไปในกลุ่มความต้องการเฉพาะอุปกรณ์ 
การประเมินท่าความยากที่นักกีฬาแสดง
ท่า A มีค่าคะแนน = 0.10 คะแนน
ท่า B มีคะแนน      = 0.20 คะแนน
ท่า C มีคะแนน      = 0.30 คะแนน
ท่า D มีคะแนน      = 0.40 คะแนน
ท่า E มีคะแนน       = 0.50 คะแนน

กลุ่มท่าการเคลื่อนไหวของนักกีฬา จะต้องประกอบด้วย
1. กลุ่มท่าพื้นฐาน (ความถูกต้องของท่าความยาก)
  • การก้าว และกระโดด (Jump and Leaps) 
  • การทรงตัว (Balance) 
  • การหมุนตัว (Pivots) 
  • ความอ่อนตัว / การทำตัวเป็นคลื่น….(Flexibility / Waves) 
2. กลุ่มท่าอื่นๆ (ให้เฉพาะการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่อง)
  • การเคลื่อนที่ (Traveling)
  • Skips and Hops
  • การเหวี่ยง / การทำวงกลม (Swing and Circle)
  • การเปลี่ยนทิศทาง (Tums)
การประเมินค่าทางศิลปะ (Artistic Value)
การประเมินค่าทางศิลปะ (Artistic Value) มีคะแนนสูงสุด 10 คะแนน 
โดยให้คะแนนดังต่อไปนี้  2.00 คะแนนสำหรับดนตรี และ 8.00 คะแนน สำหรับการออกแบบท่าชุด

ผู้ตัดสินฝ่ายศิลปะ (Artistic Value) ดำเนินการตามรูปแบบดังต่อไปนี้
  • ปรับฐานคะแนนของดนตรี หลังจากตัดคะแนนที่เกิดจากการทำผิดพลาด 
  • ปรับฐานคะแนนสำหรับการออกแบบท่าชุดหลังจากที่มีการตัดคะแนนแล้ว 
  • ตรวจสอบความถูกต้องการแสดงของนักกีฬา พิจารณาคุณลักษณะพิเศษของการออกแบบท่าชุดที่แสดงไว้ในรายการ ขีดฆ่าท่าที่ไม่ถูกต้องออก เพิ่มคะแนนสำหรับค่าท่าที่เพิ่มขึ้นจากการแสดงของนักกีฬาที่เป็นไปตามรูปแบบ และคำนวณระดับของท่า 
  • เพิ่มระดับคุณลักษณะพิเศษของการออกแบบท่าชุด คำนวณการแสดงถึงฐานคะแนนของการออกแบบท่าชุด
  • เพิ่มคะแนนของดนตรี ที่ส่วนของการออกแบบท่าชุด 
ความสมบูรณ์ของการแสดง (Execution)
ความผิดพลาดทาง Execution สามารถตัดคะแนนได้ตลอดเวลา และทุกท่าที่ผิดพลาด ยกเว้น ในกรณีที่มีการลงโทษโดยรวม

ระดับความผิดพลาด ผู้ตัดสินจะตัดคะแนน
  • 0.5 หรือ 0.10 คะแนน ถือเป็นความผิดเล็กน้อย 
  • 0.20 คะแนน ถือเป็นควาผิดปานกลาง 
  • 0.30 คะแนน ถือเป็นความผิดมาก 
เวลาและการสัมผัสอุปกรณ์
การแข่งขันยิมนาสติก กำหนดให้แสดงท่าชุดทั้งหมดภายในเวลาไม่ต่ำกว่า 1.15 นาทีและไม่เกิน 1.30 นาที ในทุกๆอุปกรณ์ กรรมการจะทำการตัดคะแนนในทุกๆ วินาที ที่ขาดหรือเกิน จากเวลาที่กำหนดไว้
  • การจับเวลา กรรมการจะเริ่มจับเวลาทันทีที่นักกีฬาเริ่มเคลื่อนไหว และหยุดการจับเวลาทันที ที่นักกีฬาหยุดการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน นักกีฬาสามารถจัดท่าทางเริ่มต้นได้เพียงอย่างเดียว
  • การสัมผัสอุปกรณ์ ท่าเริ่มต้น นักกีฬาต้องสัมผัสอุปกรณ์ด้วยส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ในท่าเริ่มต้นของการแข่งขัน กรรมการจะตัดคะแนน หากร่างกายไม่สัมผัสอุปกรณ์ตามกำหนด
การสัมผัสอุปกรณ์ขณะแข่งขัน หากเกิดความผิดพลาดในการรับหรือส่งหรือปะทะอันเป็นอุปกรณ์ หากไม่เป็นไปตามกำหนดจะถูกกรรมการตัดคะแนน

Tip : กฎกติกา และเกณฑ์การให้คะแนน มีความสำคัญในทุกแม็ตซ์ของการแข่งขันกีฬา วาเลรี ยิม คลับ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในอรรถประโยชน์จากการชม และเชียร์ กีฬายิมนาสติกลีลา อย่างสนุก มีความสุขถ้วนหน้า นะคะ..

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การอบอุ่นร่างกายก่อนฝึกซ้อม กีฬายิมนาสติกลีลา

สาระน่ารู้ จาก Valeri Gym Club วันนี้..นำเสนอความรู้เกี่ยวกับการอบอุ่นร่างกาย ก่อนการฝึกซ้อมกีฬายิมนาสติกลีลา สำหรับคนรักษ์ยิม(ลีลา)..ติดตามอ่านได้เลย ค่ะ


ลักษณะของการอบอุ่นร่างกาย กระทำได้ 2 ลักษณะ คือ


1. การทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น
  • ทางตรง Active หรือ Formal warm up ได้แก่ การเคลื่อนไหวของร่างกายในลักณะต่างๆ เช่น การวิ่งเหยาะ การทำท่าบริหารร่างกาย การเดินเร็วๆ ซึ่งกระทำชั่วระยะเวลาหนึ่งพอที่จะให้เหงื่อออกซึมๆ
  • ทางอ้อม Passive หรือ Informal warm up ได้แก่ การใช้ความร้อนจากภายนอกมาช่วย เช่น การอาบน้ำอุ่นค่อนข้างร้อน การเข้าห้องอบไอน้ำ(ซาวน์น่า)การใช้น้ำมันนวด 
2. การยืดกล้ามเนื้อและเอ็น (Stretching)
เป็นการช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อ กล้ามเนื้อและเอ็น เป็นไปได้อย่างสะดวก ป้องกันการบาดเจ็บอันอาจจะเกิดขขึ้นได้ แต่ต้องกระทำแบบค่อยเป็นค่อยไป


ตามหลักทางด้านสรีรวิทยา ได้แบ่งการอบอุ่นร่างกายออกเป็น 2 แบบ...คือ
  1. การอบอุ่นร่างกายทั่วไป หมายถึง การเตรียมพร้อมด้วยการฝึกกระตุ้นให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย มีการเคลื่อนไหวก่อนการปฏิบัติงานจริง โดยการบริหารภายใต้ภาวะปกติ เช่น การใช้ท่าฝึกบริหารกายโดยทั่วไป (Body Conditioning) หรือการฝึกเบาๆ เป็นประจำ เช่น การวิ่งเหยาะๆ การกระโดดเชือกอยู่กับที่ หรือการบริหารแบบเกร็งกล้ามเนื้ออยู่กับที่ เพื่อให้เกิดความเครียดระยะหนึ่ง ในแบบที่เรียกว่าการออกกำลังกายแบบไอโซโทนิค (Isotonic Exercise)
  2. การอบอุ่นร่างกายเฉพาะอย่าง หมายถึง การกระตุ้นให้กล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของร่างกายเตรียมพร้อมเพื่อการปฏิบัติกิจกรรมเฉพาะอย่าง เช่น การบริหารร่างกายเพื่อความอ่อนตัว (Flexibility) ของนักยิมนาสติก เป็นต้น การอบอุ่นร่างกายเฉพาะอย่างเช่นนี้ ต้องอาศัยท่าเฉพาะในการเคลื่อนไหวและอาศัยประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อที่สมบูรณ์ ซึ่งมีหลายลักษณะ คือ
Warm up - Valeri Gym Club
    • การฝึกบริหารกายเฉพาะชนิดประเภทกีฬา เป็นการฝึกเพิ่มมพิเศษจากท่าบริหารเฉพาะที่เพื่อทักษะกีฬานั้นๆ เช่น ฝึกกล้ามเนื้อขาเพื่อการวิ่ง ฝึกกล้ามเนื้อไหล่และแขนเพื่อการขว้าง พุ่ง ทุ่ม หรือการเล่นแบดมินตัน บาสเกตบอล เทนนิส การบริหารข้อเท้าเพื่อการว่ายน้ำ
    • การฝึกบริหารกายเพื่อความทนทาน เพื่อให้ออกแรงปฏิบัติงานได้ยาวนานและสามารถฟื้นตัวได้เร็ว เป็นการบริหารร่างกายเป็นประจำก่อนช่วงระยะเวลาการปฏิบัติกิจกรรมจริงโดยเพิ่มปริมาณและระยะเวลาให้มากกว่าช่วงเวลาที่ต้องปฏิบัติจริง เรียกว่าการฝึกหนักกว่าที่เป็นจริง(Overload Training)
ประโยชน์ของการอบอุ่นร่างกาย
  • ทางสรีรวิทยา (Physiological Effect) โดยการทำให้อุณหภูมิของกล้ามเนื้อและร่างกายและอัตราทางปฏิกิริยาเคมีสูงขึ้น อัตราการไหลเวียนของโลหิตมีมากหรือการทำให้น้ำมันหล่อลื่นของข้อต่อ (Synovial Fluid) ถูกผลิตออกมามากขึ้นอย่างพอเหมาะ ทำให้เกิดความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว ซึ่งจะเป็นหนทางป้องกันการบาดเจ็บอันอาจเกิดขึ้นกับข้อต่อ
  • ทางจิตวิทยา (Psychological Effect) คือการทำให้นักกีฬามีความรู้สึกว่าพร้อมที่จะเล่นกีฬาหรือทำการแข่งขัน ซึ่งเป็นความรู้สึกทางจิตใจที่เป็นประโยชน์ของการแข่งขันมากกว่าที่จะไม่ได้ทำกิจกรรม การอบอุ่นร่างกายนั้น นักกีฬาส่วนใหญ่จะเห็นความสำคัญของการอบอุ่นร่างกายถึงแม้ว่าจะมีเวลาอบอุ่นร่างกายเพียง 5 – 10 นาที ในการแข่งขันนัดใหญ่ๆ ก็ตาม
การอบอุ่นร่างกายในกีฬายิมนาสติกลีลา แบบเคลื่อนที่
Valeri Gym Club
เป็นการเตรียมร่างกายเพื่อพร้อมสู้กับภาระกิจอันหนักหน่วงด้วยการเปิดเส้นเลือดให้เลือดฉีดทั่วร่างกาย ด้วยการบริหารกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ดังนี้
  1.      1. การวิ่งเหยาะ เขย่งและสไลด์
     2. กระโดดในท่าต่างๆ

     3. บริหารกายท่าพับบิด งอ เหยียด ยืด หมุน

     4. วิ่งเร็ว
    "นักกีฬาต้องเสร็จสิ้นการอบอุ่นร่างกายด้วยความรู้สึกร้อนและชีพจรที่เร็วขึ้น แต่เต็มไปด้วยความสดชื่น และพร้อมที่จะฝึกหนักต่อไป"




    วาเลรี ยิม คลับ  สนับสนุนให้ทุกท่านออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ อ๊ะ อ๊ะ ..เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ อย่าลืม..อบอุ่นร่างกาย..ก่อนการฝึกซ้อม นะคะ...

    สมรรถภาพนักกีฬายิมนาสติกลีลา

    นานาทรรศนะ จาก "กูรู" วงการแพทย์,วงการกีฬา ต่างให้นิยามคำว่า สมรรถภาพทางกายของนักกีฬายิมนาสติกลีลา แตกต่างกัน Valeri Gym Club สรุปมาพอให้เข้าใจ ดังนี้..ค่ะ


    ความหมายของสมรรถภาพทางกาย คือ ความสามารถของร่างกาย ที่สามารถประกอบกิจกรรมหรือทำงานได้เป็นระยะเวลานานๆ ติดต่อกัน และผลที่ได้รับมีประสิทธิภาพสูง


    อ้างอิง..คณะแพทย์และพลศึกษา
    สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ผลรวมของร่างกาย อันประกอบด้วย
    • ความสามารถทางกลไกของร่างกาย (Body Mechanics) ในการประกอบกิจกรรมใดๆ ก็ตามอย่างมีประสิทธิภาพในชีวิตประจำวัน รวมทั้งกิจกรรมกีฬา และกิจกรรมพิเศษต่างๆด้วย 
    • ความสมบูรณ์ทางจิต 
    • ความสมบูรณ์ทางร่างกาย 
    • ทรวดทรง 
    อ้างอิง..รอเรนซ์ และโรแนลด์ (Lawrence and Roneld)
    สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ส่วนหนึ่งของผลรวมของความสมบูรณ์ทางกาย (Physical Perfection) ซึ่งผลรวมนั้นก็คือ สมรรถภาพทางจิต ทางอารมณ์ และสมรรถภาพทางสังคม
    “ สมรรถภาพทางกาย “ มิได้เป็นเพียงความสามารถทางด้านร่างกาย ซึ่งหมายถึงการมีกายภาพที่สมบูรณ์ หรือรูปทรงที่สมส่วนเท่านั้น จึงสรุปได้ว่า “ สมรรถภาพทางกาย “ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสมบูรณ์ทางกาย
    องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วย
    • ความรวดเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื่อในการทำงานเพื่อให้บางส่วนหรือทั้งหมดของร่างกาย เคลื่อนไปสู่เป้าหมายโดยใช้เวลาสั้นที่สุด 
    • ความสมดุลย์ (Balance) หมายถึง ความสามารถในการควบคุมท่าทางของร่างกายให้อยู่ในลักษณะที่ต้องการได้ไม่ว่าจะอยู่ในขณะเคลื่อนที่หรืออยู่กับที่ 
    • ความอ่อนตัว (Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการเหยียดและหดตัวของกล้ามเนื้อเอ็นข้อต่อในปริมาณมุมที่มากกว่าปกติ 
    • ความแข็งแรง (Strength) หมายถึง ความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อ เพื่อต่อต้านแรงที่มากระทำ 
    • พลังกล้ามเนื้อ (Power) หมายถึง ความสามารถในการทำงานอย่างทันทีทันใดของกล้ามเนื้อด้วยความพยายามสูงสุด 
    • ความว่องไว (Agility) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนท่าของร่างกาย หรือทิศทางการเคลื่อนไหวของร่างกายตามต้องการอย่างทันทีทันใด 
    • ความสัมพันธ์ของประสาทและกล้ามเนื้อ (Coordination) หมายถึง การควบคุมร่างกายทำงาน ตอบสนองการสั่งงานของระบบประสาทอย่างมีประสิทธิภาพ 
    • ความทนทาน (Endurance) หมายถึง ความสามารถในการกระทำกิจกรรมซ้ำกันนานๆ ของกล้ามเนื้อโดยเกิดความเมื่อยล้า และเหนื่อยช้า โดยปกติประกอบด้วยความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) และความทนทานของระบบหัวใจ และหลอดเลือด (Cardio –Vascular Endurance) 
    Tip : "กูรู" เน้นยำว่า การออกกำลังกายเป็นประจำวิธีเดียวเท่านั้น ที่จะรักษาสมรรถภาพทางกายได้ รู้ยังงี้แล้ว..มาออกกำลังกาย เพื่อรักษาสมรรถภาพทางร่างกาย กันนะคะ..

    ประโยชน์และคุณค่า กีฬายิมนาสติกลีลา

    Valeri Gym Club สรรหา สาระความรู้ดีๆ ที่อุดมด้วยคุณค่าของกีฬายิมนาสติกลีลา มาฝากคุณพ่อ-คุณแม่ ที่กำลังมองหากิจกรรมกีฬาให้กับลูกรักของคุณ ลอง..พิจารณาข้อมูลทางเลือกนี้ดู นะคะ

    กีฬายิมนาสติกลีลา (Rhythmic Sportive Gymnastics) เป็นกีฬาที่ใหม่ที่สุดในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 23 ปี ค.ศ. 1984 โดยการยอมรับของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล

    จุดเด่นของกีฬาชนิดนี้ คือมีการแข่งขันเฉพาะผู้หญิง โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ในการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมีศิลปะ ประกอบกับอุปกรณ์เบาๆ ให้ผสมกลมกลืนกันโดยมีเสียงดนตรีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญเพื่อส่งเสริมความงดงามของกีฬาชนิดนี้

    ประโยชน์ทางด้านร่างกาย
    มีทรวดทรงดี บุคลิกสง่างาม
    ร่างกายมีความอ่อนตัว มีความคล่องแคล่วว่องไว กระฉับกระเฉง
    ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานประสานกันได้ดี
    ทำให้ร่างกายมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงสมบูรณ์
    ทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้สัมพันธ์กับจังหวะดนตรี

    ประโยชน์ทางด้านจิตใจและอารมณ์
    ทำให้เกิดความกล้าตัดสินใจ และกล้าแสดงออก
    ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง
    ทำให้มีอารมณ์สุขุม เยือกเย็น ไม่อ่อนไหวง่าย
    ทำให้มีระเบียบวินัยที่ดี มีความสุภาพเรียบร้อย
    ทำให้มีอารมณ์แจ่มใส จิตใจร่าเริง และเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

    ประโยชน์ทางด้านสังคม
    ทำให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    ทำให้รู้จักแพ้ รู้จักชนะ และรู้จักอภัย
    ทำให้รู้จักการเข้าร่วมในการแข่งขัน
    ทำให้มีระเบียบวินัยที่ดีในสังคม
    ทำให้รู้จักการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

    วาเลรี ยิม คลับ เชิญชวน..พิจารณา นับข้อดีเกิน 5 ข้อ รีบตัดสินใจ พา(เด็กหญิง) บุตร-หลาน ของท่าน มาร่วมออกกำลังกาย กับเรา Valeri Gym Club นะคะ..

      มารยาท นักกีฬาและผู้ชม กีฬายิมนาสติกลีลา

      Valeri Gym Club ยินดีที่มีโอกาสนำความรู้ มาแบ่งปัน สมาชิก คนรักษ์ยิม(ลีลา) ติดตามอ่าน ..สาระ ดีๆ ที่นำมาฝากกันดู..นะคะ

      มารยาทการเป็นนักกีฬา (ผู้เล่น) ที่ดี
      แต่งกายในชุดที่เหมาะสมและรัดกุม
      ไม่แสดงกิริยาหรือกล่าวถ้อยคำอันไม่สุภาพต่อผู้เล่นอื่นๆ หรือผู้ดู
      ปฏิบัติตามระเบียบ กฎ กติกาอย่างเคร่งครัด
      ไม่โต้เถียง หรือแสดงกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้ตัดสินในการตัดสิน
      ก่อนและหลังการเล่นทุกครั้งควรทำความเคารพผู้ตัดสิน

      มารยาทผู้ชมกีฬา (ผู้ดู) ที่ดี
      ไม่แสดงอาการอันแสดงถึงการเยาะเย้ยกับผู้เล่นเมื่อมีการกระทำผิดพลาด
      แสดงความชื่นชมยินดี โดยการปรบมือให้กับผู้เล่นที่ทำได้ดี
      ไม่ทำการรบกวนสมาธิของผู้เล่น
      ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการส่อเสียดในทางไม่ดีต่อทีมใดทีมหนึ่ง
      ไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันที่จะทะให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ไม่สะดวก

      กฎ-กติกา มารยาท เป็นสิ่งที่ควรปฎิบัติ...แฟน'ยิมลีลา..ร่วมด้วย ช่วยกัน นะคะ...

      รูปร่างนักกีฬายิมนาสติกลีลา

      วาเลรี ยิม คลับ นำสาระ-ความรู้ ดีๆ มาฝาก คนรักษ์ยิม(ลีลา) ลองติดตามอ่านดู นะคะ ...

      รูปร่างที่เหมาะสมกับกีฬายิมนาสติกลีลา
      ร่างกายของนักกีฬา เป็นปัจจัยขขั้นมูลฐานที่สำคัญ การที่ผู้ฝึกสอนจะเลือกนักกีฬาเพื่อทำการฝึกซ้อมให้ประสบผลสำเร็จในการแข่งขัน จำเป็นต้องพิถีพิถัน ในคัดเลือกนักกีฬา ซึ่งควรมีลักษณะต่างๆเป็นองค์ประกอบ ดังนี้
      • ใบหน้าควรมีรูปไข่ เรียว 
      • ช่วงลำคอยาว – บาง 
      • ไหล่ทั้ง 2 ข้าง ลาดลงเล็กน้อย 
      • ลำตัวช่วงบนสั้น เอวและสะโพกเล็ก 
      • ส่วนหลังตรง 
      • แขนและขาเรียวยาว 
      • เท้าต้องสามารถกดโค้งได้อย่างง่ายดาย 
      • เอ็นร้อยหวานยาวเพื่อช่วยในการสปริงข้อเท้า 
      • ร่างกายทั้งหมดควรดูสูงโปร่งบาง
        ทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น คือคุณลักษณะที่ดีของนักยิมนาสติกลีลา..รู้แล้ว.. บอกต่อ..สมาชิกแฟนคลับ ยิมนาสติกลีลา จะได้รักษารูปร่างให้ ฟิต& เฟริ์ม เหมาะสมกับ Rhythmic Gymnastics นะคะ

        วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

        น้องเอิร์ธ -Valeri Gym

        น้องเอิร์ธ .. ชัญญานุช เกตุเรืองรอง อายุ 6 ขวบ เรียนอยู่ระดับชั้น ป. 2 โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์
        สมาชิกรุ่นเล็ก ( S ) คุณแม่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยเชื่อว่ากีฬายิมนาสติกลีลา เป็นพืนฐานการเคลื่อนไหวของร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับ มีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาไปสู่กีฬาประเภทอื่น อีกทั้งได้รับการฝึกระเบียบวินัย ความอดทน ความรับผิดชอบ รวมถึงความมั่นใจใน-กล้าแสดงออกมากขึ้น..
        น้องเอิร์ธ - วาเลรี ยิม
        น้องเอิร์ธ ( Earth )...ชอบกีฬายิมนาสติกลีลา ขยัน-ตั้งใจฝึกซ้อม สามารถพัฒนาตนเองได้ดีมาก บ่อยครั้งที่หนูจำท่าการฝึกซ้อมที่น่ารักๆของพี่นักกีฬา(ในดวงใจ) ไปแอบซุ่มฝึกซ้อมหน้ากระจกที่บ้าน ขอเวลาอีกนิด นะคะ หนูคงมีโอกาสได้โชว์อวดพี่ๆบ้าง
        คุณแม่(โอ๊ะ) + น้องเอิร์ธ ประทับใจครูชาช่า และพี่ๆนักกีฬา Valeri Gym Club มากๆ...ค่ะ