กีฬายิมนาสติกลีลาประกอบดนตรีได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 19 (พ.ศ. 2443) โดยเริ่มจากการใช้ยิมนาสติกเพื่อการศึกษา ผู้ที่คิดค้นแท้จริงเป็นนักการศึกษาชาวสวิตเซอร์แลนด์ชื่อ Jacques Dalcrole ซึ่งเป็นผู้สร้างวิทยาลัยครูเกี่ยวกับกิจกรรมเข้าจังหวะ 2 แห่งคือ วิทยาลัยในสวิตเซอร์แลนด์ และวิทยาลัยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน วิทยาลัยทั้งสองแห่งเป็นแหล่งฝึกฝนยิมนาสติกประกอบจังหวะขึ้นเป็นครั้งแรก
จากนั้นได้มีการคิดค้นเพิ่มเติมในเยอรมันโดย Rodolph Boda ในปี พ.ศ. 2424-2513 ซึ่งศึกษามาจาก Dalcroze Eurythmic College และต่อมา Heinrich Modau ในปี พ.ศ. 2433-2517 ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ Rodolph Boda ได้จัดตั้งโรงเรียนของตนเองเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนเต้นรำและยิมนาสติกที่อาศัยดนตรีประกอบ Modau ได้พัฒนาทักษะยิมนาสติกประกอบจังหวะโดยใช้เครื่องดนตรี และเขาได้ริเริ่มการฝึกประกอบลูกบอล ห่วงฮูลาฮุบ และโยนไม้ เขาได้คิดท่าทางต่างๆ ซึ่งเป็นของใหม่ และมีลักษณะตื่นเต้นผสมกับความสวยงามขึ้นมา
ยิมนาสติกประเภทนี้จัดอยู่ในประเภทยิมนาสติกลีลา มีการแข่งขันเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น โดยจะแข่งบนพื้นที่ขนาด 12 x 12 เมตร ใช้เวลาในการแข่งขันคนละ 1-1.30 นาที อุปกรณ์ที่ใช้แข่งขันมี 5 ชนิด โดยสหพันธ์ยิมนาสติกสากลได้กำหนดไว้ตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรกในกีฬา โอลิมปิก ครั้งที่ 23 พ.ศ. 2527 ณ นครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนี้
1. บอล (Ball) ทำด้วยยางหรือพลาสติก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 18-20 เซนติเมตรน้ำหนัก 400 กรัม
BALL - บอล |
RIBBON - ริบบิ้นยิมนาสติกลีลา |
HOOP - ห่วง |
CLUB - คลับ หรือ คทา |
ROPE - เชือกยิมนาสติกลีลา |
อ้างอิง :
ข้อมูลภาพเคลื่อนไหวจากเว็บไซต์ Athens 2004 (http://www.athens2004.com)
หน่วยศึกษานิเทศ, สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, กระทรวงศึกษาธิการ
คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์, กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2541
www.siamsport.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น